"การรถไฟแห่งประเทศไทย!!และสํานักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ลงนามความร่วมมือด้านการวิจัยและส่งเสริมมาตรฐานการทดสอบสําหรับผลิตภัณฑ์ระบบราง!!
+++ การรถไฟแห่งประเทศไทย และสํานักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) ลงนามความร่วมมือด้านการวิจัยและส่งเสริมมาตรฐานการทดสอบสําหรับผลิตภัณฑ์ระบบราง เพื่อพัฒนาอุตสาหกรรมการผลิตชิ้นส่วนระบบรางของไทย ให้มีความก้าวหน้าทางเทคโนโลยีรองรับการลงทุนโครงสร้างพื้นฐานของประเทศในอนาคต
เมื่อเวลา 8.00 น.วันที่ 7 มกราคม 2562 ณ ตึกบัญชาการ การรถไฟแห่งประเทศไทย นายวรวุฒิ มาลา รองผู้ว่าการกลุ่มธุรกิจการบริหารทรัพย์สิน รักษาการในตําแหน่งผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย ได้ทำพิธีลงนามความร่วมมือด้านการวิจัยและส่งเสริมมาตรฐานการทดสอบสําหรับผลิตภัณฑ์ระบบรางระหว่างการรถไฟแห่งประเทศไทย กับสํานักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.)
โดยมีนายณรงค์ ศิริเลิศวรกุล ผู้อํานวยการสํานักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ สื่อมวลชน และแขกผู้มีเกียรติเข้าร่วม
นายวรวุฒิ มาลา รองผู้ว่าการกลุ่มธุรกิจการบริหารทรัพย์สิน รักษาการในตําแหน่ง ผู้ว่าการรถไฟแห่งประเทศไทย เปิดเผยว่า ตามที่รัฐบาลปัจจุบันให้ความสําคัญต่อการพัฒนาระบบขนส่งของประเทศ โดยเฉพาะระบบทางรางให้มีความทันสมัยเจริญรุดหน้าเทียบเท่านานาประเทศ พร้อมกับจัดทำยุทธศาสตร์การวิจัยและพัฒนาด้านการคมนาคมขนส่งระบบรางของประเทศไทย เพื่อส่งเสริมการพัฒนาอุตสาหกรรมการผลิตชิ้นส่วนระบบรางของไทย ให้สามารถรองรับการถ่ายทอดเทคโนโลยีและการลงทุนพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานระบบรถไฟทางคู่ และรถไฟความเร็วสูงที่กำลังเกิดขึ้น
ในโอกาสนี้ การรถไฟแห่งประเทศไทย จึงจัดทําข้อตกลงความร่วมมือด้านการวิจัยและส่งเสริมมาตรฐานการทดสอบสําหรับผลิตภัณฑ์ระบบรางกับสํานักงานพัฒนาวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีแห่งชาติ (สวทช.) เพื่อส่งเสริมมาตรฐานและการทดสอบสําหรับผลิตภัณฑ์ระบบราง การยกระดับผลิตภัณฑ์ให้สอดคล้องกับการพัฒนาด้านระบบรางในประเทศไทย ตลอดจนเพิ่มขีดความสามารถการแข่งขันของอุตสาหกรรมที่เกี่ยวเนื่องกับระบบขนส่งทางรางของประเทศไทยให้เกิดขึ้นอย่างเป็นรูปธรรม อาทิ การพัฒนาชิ้นส่วนอุปกรณ์รถไฟที่มีศักยภาพการผลิตในประเทศ เช่น วัสดุทางรถไฟ และวัสดุอื่นๆ ให้มีมาตรฐานสากลแข่งขันทางธุรกิจกับต่างประเทศ การยกระดับความสามารถในการผลิตของผู้ประกอบการไทยที่มีศักยภาพสูงเพื่อเข้าเป็นส่วนหนึ่งของกระบวนการผลิตชิ้นส่วนรถไฟ การศึกษาเทคโนโลยีที่เกี่ยวข้องกับการกําหนดมาตรฐานการให้บริการ มาตรฐานการทดสอบ ในด้านผลิตภัณฑ์และการรับรองมาตรฐานการผลิตในด้านอุตสาหกรรมให้เป็นไปตามมาตรฐานสากล เป็นต้น
นายวรวุฒิกล่าวต่อว่า ในระยะเริ่มต้นจะริเริ่มส่งเสริมมาตรฐานและการทดสอบสําหรับผลิตภัณฑ์ระบบราง ในชิ้นส่วนที่มีความซับซ้อนน้อยก่อนแล้วสั่งสมประสบการณ์เพื่อต่อยอดไปผลิตชิ้นส่วนที่มีความซับซ้อนสูงขึ้นต่อไป เพื่อลดภาระการนําเข้าสินค้า การสนับสนุนอุตสาหกรรมการผลิตในประเทศ รวมถึงเตรียมพร้อมสู่การขยายโครงข่ายระบบขนส่งทางรางในอนาคต ซึ่งเป็นโมเดลที่สอดคล้องกับหลายประเทศที่ได้มีการลงทุนพัฒนาระบบขนส่งทางรางเกิดขึ้น
สุดท้ายนี้การรถไฟฯ เชื่อว่าการลงนามความร่วมมือครั้งนี้ จะเป็นกุญแจสำคัญที่ทำให้เกิดการยกระดับมาตรฐานผลิตภัณฑ์ระบบรางของไทย และพัฒนาสถานะประเทศไทยจากประเทศผู้ซื้อ มาเป็นประเทศผู้ผลิตเพื่อความยั่งยืนของอุตสาหกรรมภายในประเทศ ตลอดจนช่วยขยาย
ขีดความสามารถของไทยให้กลายเป็นประเทศผู้ส่งออกชิ้นส่วนอุปกรณ์รถไฟได้ในอนาคต!!
https://www.facebook.com/129946050353608/posts/2486538424694347/
🚂🚃🚃🚃 ขอเชิญชวนทุกท่าน มาร่วม
ติดตาม
Youtube : การรถไฟแห่งประเทศไทย OFFICIAL
https://www.youtube.com/channel/UCX0RfGzGjovQmxDYyGquJ_Q
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น