กอ.รมน. ผนึก วช. มุ่งสร้างตำบลต้นแบบ 15 จังหวัด ผ่านปราชญ์เพื่อความมั่นคง และเครือข่ายภาคประ ชาชน ด้วยงานวิจัยและนวัตกรรม กองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร
(กอ.รมน.) และสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ (วช.) กระทรวงการอุดมศึกษา วิทยาศาสตร์ วิจัยและนวัตกรรม (อว.) ร่วมเดินหน้าสร้างความเข้มแข็งกลุ่มมวลชน ปราชญ์เพื่อความมั่นคงและภาคประชาชน โดยมุ่งเน้นการยกระดับคุณภาพชีวิต เสริมสร้างอาชีพและเพิ่มประสิทธิภาพการผลิต ด้วยงานวิจัยและนวัตกรรม อันสอดคล้องตามหลักปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียง
วันนี้ (30 มีนาคม 2564) เวลา 09.00 น. ที่ ชลพฤกษ์ รีสอร์ท จังหวัดนครนายก พลเอกวรเกียรติ รัตนานนท์ เลขาธิการกองอำนวยการรักษาความมั่นคงภายในราชอาณาจักร และ ดร. วิภารัตน์ ดีอ่อง ผู้อำนวยการสำนักงานการวิจัยแห่งชาติ เป็นประธานเปิดกิจกรรมเสริมสร้างปราชญ์เพื่อความมั่นคงและเครือข่ายภาคจังหวัดเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน พร้อมเยี่ยมชมผลงานผลิตภัณฑ์การเกษตร จากเครือข่ายภาคประชาชนในหลายจังหวัด กิจกรรมนี้จัดขึ้นเพื่อบูรณาการความร่วมมือระหว่างภาคความมั่นคง และภาคการวิจัย ในการเสริมสร้างความเข้มแข็งให้แก่ปราชญ์เพื่อความมั่นคง และเครือข่ายภาคจังหวัด ซึ่งเป็นฐานสำคัญของประเทศในการร่วมขับเคลื่อนการพัฒนาและการแก้ไขปัญหาเพื่อการพัฒนาที่ยั่งยืน รวมถึงการเสริมสร้างความรู้ด้านความมั่นคงของชาติ การพัฒนาปราชญ์ พัฒนาชุมชนต้นแบบ นำสู่ตำบลมั่นคง มั่งคั่ง และยั่งยืน
ระหว่างวันที่ 29 มีนาคม – 1 เมษายน 2564 สำหรับการดำเนินงาน ศปป.1 กอ.รมน. ได้คัดกรององค์ความรู้ที่พร้อมถ่ายทอดองค์ความรู้เพื่อการพัฒนาในพื้นที่ 61 ชุมชน ใน 21 จังหวัด และ วช. ได้คัดกรององค์ความรู้ที่พร้อมถ่ายทอดขยายผลและสอดคล้องกับบริบทความต้องการของพื้นที่เป้าหมาย จำนวน 11 องค์ความรู้/เทคโนโลยี ซึ่งในระยะที่ 1 ปีงบประมาณ 2562 วช. ได้สนับสนุนงานวิจัยและนวัตกรรมในการเพิ่มศักยภาพชุมชนให้มีความเข้มแข็งตามโจทย์ความต้องการของพื้นที่ชุมชน ซึ่งเป้าหมายของ กอ.รมน. จำนวน 231 ชุมชน ซึ่งชุมชนได้กำหนดความต้องการไว้ 5 เทคโนโลยี ปีงบประมาณ 2563 เป็นการดำเนินงานระยะที่ 2 ระยะนี้ได้เสริมสร้างความเข้มแข็งให้กับชุมชน จนสามารถพึ่งพาตนเองได้ และตั้งเป้าให้เป็นชุมชนต้นแบบนำวิจัยและนวัตกรรมมาปรับวิถีชีวิตเป็นชุมชนเข้มแข็ง ในปีงบประมาณ 2564 นี้ วช. และ ศปป.1 กอ.รมน. ได้มีเป้าหมายสร้างตำบลมั่นคง มั่งคั่ง ต้นแบบ ใน 15 จังหวัด โดยดำเนินการตามนโยบายบูรณาการขับเคลื่อนการปฏิบัติงานของทั้งสำนักนโยบายและยุทธศาสตร์ความมั่นคง (สยย.) กอ.รมน. ร่วมด้วย ศปป.1 กอ.รมน. และ ศปป. 4 กอ.รมน
ซึ่งได้กำหนดพื้นที่เป้าหมายระดับตำบล ให้สอดคล้องกับการนำงานวิจัยและนวัตกรรม ไปช่วยในการยกระดับศักยภาพความเข้มแข็งของชุมชนและตามความต้องการของประชาชนอย่างแท้จริง ตลอดจนสามารถประเมินผลสัมฤทธิ์ได้ โดยการส่งมอบงานวิจัยและนวัตกรรม ผ่านศูนย์ประสานการปฏิบัติที่ 4 (ศปป.4) ในการขยายผลเทคโนโลยี เรื่อง “เครื่องวัดข้อมูลฝุ่นละอองขนาดเล็กในอากาศด้วยระบบเซ็นเซอร์เชื่อมต่อข้อมูลด้วยระบบสถาปัตยกรรมเน็ตเวิร์คอัจฉริยะ” ในพื้นที่ทำงานของ กอ.รมน. จังหวัด ซึ่งครอบคลุมพื้นที่ทั้ง 4 ภาค
ในปี 2563 และในปี 2564 มีแผนขยายผลนวัตกรรมเรื่อง “ถังหมักประสิทธิภาพสูงเพื่อการจัดการขยะอินทรีย์ในระดับชุมชน” โดยขยายผลเทคโนโลยีในพื้นที่ดูแลของ ศปป.4 กอ.รมน. ให้ครอบคลุมทั้ง 4 ภาค ใน 22 พื้นที่ 14 จังหวัด และศูนย์ประสานการปฏิบัติที่ 5 (ศปป.5) กอ.รมน. ในการขยายผลการใช้ประโยชน์ผลงานวิจัยและนวัตกรรม เรื่อง เสื้อเกราะกันกระสุนน้ำหนักเบาที่ผ่านมาตรฐานสากลระดับ NIJ III (NIJ 3) ในพื้นที่การดูแลของ กอ.รมน. ภาค 4 ส่วนหน้า (3 จังหวัดชายแดนภาคใต้) และกองทัพภาคที่ 4
ไม่มีความคิดเห็น:
แสดงความคิดเห็น