วันอังคารที่ 22 ธันวาคม พ.ศ. 2563

ชาวบ้านสุดทน ร้องสื่อ ! รัฐตั้งผู้ปกครองศาลเจ้าไม่สนชุมชน สั่งคนเรียกเก็บค่าจอดรถไม่ออกใบเสร็จนานกว่า 4 ปี ไร้การพัฒนาศาลเจ้าและชุมชน เงินไปไหน ? 


จากกรณีข้อพิพาทของชาวชุมศาลเจ้าเล่าปุนเถ้ากง เกี่ยวกับการแต่งตั้งผู้ปกครองศาลเจ้า โดยไม่ผ่านความเห็นชอบจากคนในชุมชน รวมถึงการเรียกเก็บเงินค่าจอดรถโดยไม่ออกใบเสร็จ เก็บมานานกว่า 4 ปี ชาวบ้านอยากรู้เงินไปไหน ? ไม่มีการพัฒนาศาลเจ้าและชุมชน ปล่อยให้ศาลเจ้าเสื่อมโศรมจนชาวบ้านต้องรวมเงินกันบูรณะกันเอง ผู้สื่อข่าวได้ลงพื้นที่สอบถามข้อเท็จจริงจากการบอกเล่าของคนในชุมชนแห่งนี้ได้รับการบอกเล่าว่า ปัจจุบันได้มีคณะผู้ดูแลศาลเจ้าชุดใหม่ ที่ได้รับการแต่งตั้งจากกระทรวงมหาดไทย โดยที่ชาวบ้านในชุมชนแห่งนี้ไม่ได้รับรู้หรือมีการเรียกประชุมชาวบ้านแต่อย่างใด 





เป็นใครมาจากไหนก็ไม่รู้ ตั้งแต่มารับต่ำแหน่งผู้ปกครองศาลเจ้า กิจกรรมประเพณีต่างๆที่เคยจัดสืบทอดกันมาจากรุ่นสู่รุ่น ตั้งแต่สมัยราชกาลที่ 3 นับเวลาได้ 163 ปีไม่ได้รับการเหลียวแล อีกทั้งศาลเจ้าเล่าปุนเถ้ากงที่คนในชุมชนนับถือก็เสื่อมโศรมไร้การบูรณะซ่อมแซม ชาวบ้านเล่าต่ออีกว่า ผู้ปกครองศาลเจ้านั้นไม่ใช่คนในชุมชนเขาจะไม่รู้จักและไม่เข้าใจประเพณีที่สืบทอดกันมา จึงไม่เข้าใจชุมชนอย่างท่องแท้ อีกทั้งตอนนี้ชาวบ้านก็สุดทนกับพฤติกรรมเรียกเก็บเงินค่าที่จอดรถไม่ไหว เคยร้องเรียนไปยังสำนักงานเขตธนบุรี และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องก็เงียบกริบ ชาวบ้านจึงร้องสื่อให้ช่วยหาความจริง 



อยากรู้ว่าเงินของอากงไปไหน เก็บเงินค่าที่จอดมาหลายปีแล้วไม่เคยเห็นเอามาช่วยเหลือคนในชุมชนและศาลเจ้า ถ้าไม่ให้จอดเอาไว้ออกมาอีกทีรถก็มีรอยรอบคัน คนในชุมชนเคยอยู่กันมาอย่าสงบสุขสามัคคี ตอนนี้มีแต่ความขัดแย้ง สำนักงานเขตธนบุรีก็ไม่รับฟังชาวบ้านในชุมชน มองแต่ว่าชาวบ้านขัดแย้งกับสำนักงานเขต ฝากถามหน่อยว่ามันมีผลประโยชน์ซับซ้อนหรือเปล่าถึงไม่รับฟังชาวบ้านที่เขาเกิดและอยู่ในชุมชนแห่งนี้ ตอนแต่งตั้งกันทำไมไม่เรียกชาวบ้านมาประชุมเลือกกันเอง . สำหรับ ศาลเจ้าเล่าปุนเถ้ากง หรือ ศาลเจ้ากลางสวน ตั้งอยู่ในซอยตากสิน 4 แขวงบางยี่เรือ เขตธนบุรี กรุงเทพ เป็นศาลเจ้าโบราณเก่าอายุกว่า 163 ปี สร้างขึ้นในสมัยราชกาลที่ ๓ เป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของคนในชุมชน มีคณะกรรมการปกครองดูแล จากรุ่นสู่รุ่นผลัดเปลี่ยนกันขึ้นเป็นประธานคณะกรรมการ มีวัฒนธรรมท้องถิ่นที่ถือปฏิบัติกันมา




ภายใน 1 ปี ศาลเจ้าเล่าปุนเถ้ากง จะมีการจัดงานทั้งหมด ๔ งาน ซึ่งจะต้องดูปฏิทินจีนอีกครั้งในแต่ล่ะปี ที่คณะกรรมการดำเนินงานสืบต่อกันมาดังนี้ ๑.งานต้นปี เพื่อให้ลูกศิษย์มาร่วมงานสังสรรค์ ร่วมความรักความสามัคคีในหมู่ลูกศิษย์ ๒.งานทำบุญกลางปี(ทิ้งกระจาด)เพื่อทำบุญแจกทานข้าวสารให้แก่ผู้ยากไร้่ ๓.งานทำบุญวันเกิดเล่าปุนเถ้ากง เพื่อให้ลูกศิษย์ได้ร่วมกัน ทำความเคารพ เล่าปุนเถ้ากง ๔.งานส่งท้ายปี และประเพณีได้จางหายไปตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๓๐ หลังจากที่ได้ขึ้นทะเบียนศาลเจ้ากับกรมการปกครอง ผู้ปกครองศาลเจ้าที่ได้รับการแต่งตั้งจากกระทรวงมหาดไทย ที่ไม่เข้าใจในประเพณีของชุมชนและไม่ใช่คนในชุมชนโดยกำเหนิด ขาดความเชื่อมโยงกับชุมชน รวมถึงวัฒนธรรมและประเพณีอันดีงามที่สืบทอดกันมาจากรุ่นสู่รุ่น จึงทำให้ประเพณีเก่าแก่ที่สืบทอดกันนั้นมาจางหายไป ซึ่งถือเป็นสมบัติทางวัฒนธรรมที่ทรงคุณค่า จึงเป็นที่มาของข้อพิพาทระหว่างชุมชนแห่งนี้กับผู้ปกครองศาลเจ้าเล่าปุนเถ้ากงที่ได้รับการแต่งตั้งขึ้นมาใหม่โดยไม่ได้รับความเห็นชอบจากคนในชุมชน รวมถึงการเรียกเก็บเงินค่าที่จอดรถ สรุปเงินไปไหน ?

วันพฤหัสบดีที่ 17 ธันวาคม พ.ศ. 2563

" ปธ.มูลนิธิตอกเส้นสีไพร " ยื่นหนังสือขอความเป็นธรรม ทวงถามใบอนุญาตเปิดสอนหลักสูตรตอกเส้นเพื่อสุขภาพ ... ที่สำนักงานปลัดกระทรวงสาธารณสุข จ.นนทบุรี


เมื่อเวลา 14.00 น. วันที่ 17 ธ.ค. พระมหาสีไพร อาภาธโร ประธานมูลนิธิตอกเส้นสีไพร นำนักศึกษาโรงเรียนนวดตอกเส้นสีไพร มายื่นหนังสือขอความเป็นธรรม กับรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ทวงถามใบอนุญาตเปิดสอนหลักสูตรตอกเส้นเพื่อสุขภาพ 150 ชั่วโมง ของกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ และการขอใบอนุญาตเปิดสอนหลักสูตรตอกเส้น 100 ชั่วโมง ของสภาการแพทย์แผนไทย พระมหาสีไพร อาภาธโร ประธานมูลนิธิตอกเส้นสีไพร นำนักศึกษาโรงเรียนนวดตอกเส้นสีไพร มายื่นหนังสือกับนายอนุทิน ชาญวีรกูล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข เพื่อทวงถามเรื่องการขอใบอนุญาตเปิดสอนหลักสูตรตอกเส้นเพื่อสุขภาพ 150 ชั่วโมง ของกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ และการขอใบอนุญาตเปิดสอนหลักสูตรตอกเส้น 100 ชั่วโมง ของสภาการแพทย์แผนไทย ที่มีความล่าช้า โดยมีนายอาคม ประดิษฐ์สุวรรณ รองอธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (สบส.) นายพิเชฐ เลิศธรรมศักดิ์ เลขาธิการสภาการแพทย์แผนไทย และ น.ส.จิตรณิญาณ์ ฐิติปัญญรัตน์ อุปนายกสภาการแพทย์แผนไทย คนที่ 1 เป็นผู้มารับหนังสือในครั้งนี้ 


 พระมหาสีไพร อาภาธโร ประธานมูลนิธิตอกเส้นสีไพร กล่าวว่า อาตมาได้สร้างโรงเรียนนวดตอกเส้นสีไพรบนพื้นที่ 22 ไร่ ใช้เงินไปกว่า 50 ล้านบาท และได้รับใบอนุญาตเป็นโรงเรียนเอกชน การศึกษานอกระบบจากกระทรวงศึกษาธิการ เมื่อปี 2561 อาตมาได้พยายามติดต่อประสานงานกับสภาแพทย์แผนไทย เรื่องขออนุญาตเปิดหลักสูตรตอกเส้น ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2558 ใช้เวลา 4 ปีกว่า ทางสภาแพทย์แผนไทยจึงอนุมัติหลักสูตรนวดตอกเส้น 100 ชั่วโมง เมื่อวันที่ 6 มิถุนายน 2562 นักเรียนทุกคนดีใจกัน แต่จนแล้วจนรอดก็ยังสอนไม่ได้จนบัดนี้ เพราะหลักสูตรตอกเส้นไม่เคยมีใครเปิดสอนมาก่อน โรงเรียนจะสอนตามหลักสูตรได้จริง ก็ต้องอบรมครูต้นแบบจากสภาการแพทย์แผนไทย ทางคณะกรรมการทำงานประชุมกันหลายครั้งว่าจะเปิดอบรมครูต้นแบบตามหลักสูตรที่อนุมัติ ก็ไม่ยอมเปิดสอนสักที ผลัดเดือนนั้นเดือนนี้มาหลายครั้งแล้ว ครั้งสุดท้ายก็บอกว่าจะเปิดอบรมครูในเดือนธันวาคม 


“ ประชุมคณะกรรมการทำงานกี่ครั้งต่อกี่ครั้งก็เงียบ ไม่มีอะไรคืบหน้า เลยไม่รู้ว่าสภาแพทย์แผนไทยจะเอาอย่างไรกันแน่ ” อาตมาถือว่าเป็นการขัดขวางความเจริญก้าวหน้าของการแพทย์แผนไทยสร้างความเสียหายให้การแพทย์แผนไทย เป็นอย่างมาก ผู้ที่จะเรียน ผู้ที่ดำเนินการจะเปิดคลินิกก็ทำไม่ได้ ทำงานล่าช้าไม่มีกรอบระยะการทำงาน แต่งตั้งคณะกรรมการทำงานที่ไม่มีประสิทธิภาพมาทำงาน เป็นการเสียโอกาสของนักเรียน และเป็นความเสียหาย ของผู้ที่จะเปิดคลินิกสถานประกอบการที่ต้องจ่ายค่าเช่ามานานนับปี โดยที่เปิดไม่ได้ เป็นความเสียหาย ของการแพทย์แผนไทยเป็นอย่างยิ่ง การแพทย์แผนไทยมีแต่วันตกต่ำหมดค่าหมดราคา เพราะการทำงานที่ไม่มีวิสัยทัศน์ สภาการแพทย์แผนไทยมีหน้าที่รับผิดชอบกับผู้ประกอบวิชาชีพการแพทย์แผนไทยหลายหมื่นคน มีความเกี่ยวข้องกับสุขภาพของประชาชนทั้งประเทศ มีแต่เรื่องร้องเรียน และความขัดแย้งในคณะกรรมการ มัวแต่ทะเลาะกันเอง ทำให้เสียงาน เสียโอกาสของผู้ประกอบวิชาชีพแพทย์แผนไทย 


ปัจจุบันมีหมอตอกเส้นที่ผ่านการเรียนการสอนตอกเส้นของโรงเรียนนวดตอกเส้นสีไพร 2,000 กว่าคน และจากโรงเรียนอื่นๆ ที่เปิดสอนอีกหลายพันคน เมื่อสภายังไม่รับรองหลักสูตร นักเรียนที่เรียนจบมาก็กลายเป็นหมอเถื่อน เป็นหมอใต้ดิน ที่ถูกเจ้าหน้าที่ สสจ. ไล่จับ เป็นคดีความทั่วประเทศ ทั้งๆที่ ศาสตร์ตอกเส้นเป็นที่นิยมไปทั่วประเทศ และเผยแพร่ไปทั่วโลก ชาวต่างประเทศก็มาเรียนตอกเส้น เพราะตอกเส้นรักษาได้หายจริง อีกทั้งประหยัดและปลอดภัย มีผู้เข้ารับการตอกเส้นหลายแสนคน ลองคิดดูคนที่เป็นโรคปวดหลัง 200,000 คน ต้องใช้ยา ต้องใช้หมอผ่าตัด ค่าใช้จ่ายอย่างน้อยก็คนละ200,000 บาท คิดเป็นจำนวนเงิน 40,000,000,000 ล้านบาท ถ้าใช้ศาสตร์ตอกเส้นของโรงเรียนนวดตอกเส้นสีไพร โดยที่ไม่ต้องผ่าตัด ไม่ต้องพักฟื้น ไม่ต้องใช้ยา ค่าใช้จ่ายก็ประมาณคนละไม่เกิน 2,000 บาท รวมแล้วก็ 400,000,000 บาทเท่านั้น ตอกเสร็จอาการก็ดีขึ้น 50-100% ทำงานได้ตามปกติ ศาสตร์ตอกเส้นสีไพรควรที่จะได้รับรองหลักสูตรให้ถูกต้องตามกฎหมาย ของการประกอบวิชชาชีพแพทย์แผนไทย อย่าปล่อยให้เป็นหมอเถื่อน หรือจะรอต่างชาติเขาเอาไปจดสิทธิ์บัตร แล้วเราก็มาเรียกร้องว่าเป็นของคนไทย " 


อาตมาได้ยื่นขอรับรองหลักสูตรกับสภาแพทย์แผนไทย เมื่อปี 2558 แต่ได้รับอนุมัติหลักสูตรตอกเส้นพื้นบ้าน 100 ชั่วโมง เมื่อวันที่ 6 มิถุนายน พ.ศ. 2562 และหลังจากอนุมัติหลักสูตรผ่านมาแล้ว 18 เดือน ก็ยังเปิดสอนไม่ได้ คนที่จะเรียนก็มีหลายพันคน โรงเรียนก็พร้อม ครูก็พร้อม ที่ไม่พร้อมคือใบอนุญาตจากสภาการแพทย์แผนไทย และอาตมายังได้ยื่นขอเปิดหลักสูตรตอกเส้นเพื่อสุขภาพ 150 ชั่วโมง กับกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ (สบส.) เมื่อเดือนพฤศจิกายน 2562 เรื่องผ่านทุกขั้นตอนหมดแล้ว แต่พอจะประกาศในราชกิจจานุเบกษา ในเดือนมีนาคม 2563 พลเรือเอก ชาญชัย เจริญสุวรรณ นายกสภาแพทย์แผนไทย ก็ออกหนังสือคัดค้านหาว่าไม่ปรึกษาเขา ท่านอธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ จึงส่งหนังสือขอความเห็นไปทางสำนักกฤษฎีกา เมื่อวันที่ 4 พฤษภาคม พ.ศ. 2563 เรื่องเงียบหายไปนาน 6 เดือน อาตมาก็สอบถามไปทางกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กรม สบส. ก็บอกว่ายังไม่ได้รับหนังสือ จากสำนักงานกฤษฎีกา และได้ตามทวงถามความคืบหน้ากับท่านรองอธิบดีตลอด รอแล้วรอเล่าจนวันที่14 ตุลาคม. 2563 อาตมาจึงเดินทางไปที่สำนักงานกฤษฎีกาด้วยตนเอง ทางสำนักงานกฤษฎีกาก็ยืนยันว่าได้ตีความ ส่งหนังสือมาให้ทางกรม สบส. ตั้งแต่วันที่ 10 กรกฎาคม 2563 แล้ว เลยกลายเป็นเรื่อง อาตมาจึงได้โทรถามทางกรม สบส. ก็ยืนยันว่ายังไม่ได้รับหนังสือ อาตมาจึงได้ขอหมายเลขหัวหนังสือจากสำนักงานกฤษฎีกา พร้อมเบอร์โทรส่งให้ทางกรม สบส.โทรคุยกันเอง ผ่านไป 1 ชั่วโมง ทางกรมบอกว่าหาเจอแล้ว ถูกดองเก็บเอาไว้ 3 เดือน " ปธ.มูลนิธิตอกเส้นสีไพร กล่าว พระมหาสีไพร กล่าวถึงว่า อาตมาจึงได้นำเอาเรื่องนี้ไปร้องเรียนต่อ สตง. , คณะกรรมมาธิการสภาผู้แทน , นายอนุทิน ชาญวีระกูล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ส่งต่อไปถึงปลัดกระทรวง ส่งถึงอธิบดีกรมการแพทย์ อธิบดีกรม สบส. แต่เวลาจะ 3 เดือนแล้ว เรื่องก็ยังไม่คืบหน้า มีความล่าช้า อาตมาจึงได้นำคณะนักเรียนส่วนหนึ่งของโรงเรียนนวดตอกเส้นสีไพร มายื่นหนังสือขอความเป็นธรรมโดยตรงกับนายอนุทิน ชาญวีรกูล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข ขอให้ท่านเรียกนายกสภาแพทย์แผนไทย และอธิบดีกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ กรมการแพทย์แผนไทยมาประชุม เพื่อแก้ปัญหาในความล่าช้าในการขอใบอนุญาตหลักสูตรนวดตอกเส้น 100 ชั่วโมงของสภาแพทย์แผนไทย และหลักสูตรตอกเส้นเพื่อสุขภาพ 150 ชั่วโมงของกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ และถ้าตกลงกันไม่ได้จริงๆ อาตมาก็จะยกตำราเรียนทั้งหมดให้กับประเทศจีน เป็นแพทย์แผนจีนไปเลย  



พระมหาสีไพร อาภาธโร ประธานมูลนิธิตอกเส้นสีไพร ยังได้กล่าวอีกว่า ในความเห็นของอาตมา หลักสูตรที่นักเรียนต้องการ คือหลักสูตรตอกเส้นเพื่อสุขภาพ 150 ชั่วโมงของกรมสนับสนุนบริการสุขภาพ เป็นหลักสูตรที่ตอบโจทย์ เรียนระยะสั้น ทุกคนมีสิทธิ์เรียนได้หมด ไม่ยุ่งยาก เรียนจบภายใน 1 เดือน ขึ้นทะเบียนเปิดสถานประกอบการตอกเส้นเพื่อสุขภาพได้เลย ณ ปัจจุบันสถานประกอบการเพื่อสุขภาพก็ใช้ศาสตร์ตอกเส้นอยู่แล้วหลายหมื่นคน แอบทำกันทั้งนั้น สมควรที่จะทำให้ถูกต้อง ส่วนหลักสูตรนวดตอกเส้น 100 ชั่วโมงของสภาการแพทย์แผนไทยที่อนุมัติมา ไม่ตอบโจทย์ผู้เรียน เพราะมีการกำหนดคุณสมบัติผู้เรียนที่ไม่ชอบธรรม ข้อที่ 8. คุณสมบัติของผู้เรียนคือ 8.1 เป็นผู้ที่มีอายุไม่ต่ำกว่า 20 ปี 8.2 เป็นผู้ที่มีสุขภาพร่างกายและจิตใจไม่เป็นอุปสรรคต่อการอบรมและการปฏิบัติงาน 8.3 ต้องสำเร็จการศึกษาระดับปริญญาตรีสาขาการแพทย์แผนไทยหรือสาขาการแพทย์แผนไทยประยุกต์ หรือสำเร็จการอบรมหลักสูตรผู้ช่วยแพทย์แผนไทยหรือหลักสูตรประกาศนียบัตรวิชาชีพการแพทย์แผนไทย ด้านเวชกรรมไทย หรือประกาศนียบัตรวิชาชีพการแพทย์แผนไทยด้านการนวดไทย 800 ชั่วโมงหรือเทียบเท่าที่สภาการแพทย์แผนไทยรับรอง 



 สรุปแล้วถ้าจะประกอบวิชาชีพทำตามสภาแพทย์แผนไทย ต้องใช้เวลาถึง 4 ปีขึ้นไป ค่าใช้จ่ายในการเรียนหลายแสนบาท จึงขอฝากบอกไปยังท่านอนุทิน ชาญวีรกูล รัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขว่า นี่คือความเสื่อมของการแพทย์แผนไทย ที่มีแต่วันตกต่ำหมดค่าหมดราคา เรียนจบก็ไม่มีงานทำ เพราะเรียนแต่ตำราโบราณ ไม่ตอบโจทย์ความต้องการ ของผู้ป่วยและผู้เรียน ทั้งๆ ที่ความรู้ของแพทย์แผนไทยถูกถ่ายทอดมาจากบรรพบุรุษ ปู่ย่าตายาย สอนกันง่ายๆ รุ่นสู่รุ่น แต่มาถูกสภาการแพทย์แผนไทยกำหนดกฎระเบียบให้ยุ่งยาก แทบไม่มีการส่งเสริมใดๆ เลย มีแต่ออกกฎระเบียบมา กำจัดความรู้ ความสามารถ สภาการแพทย์แผนไทยมีไว้เพื่อฆ่าแพทย์พื้นบ้าน แพทย์พื้นเมือง ปราชญ์ภูมิปัญญาชาวบ้าน ต้องต่อสู้ขึ้นโรงขึ้นศาลหลั่งน้ำตากว่าจะได้มาให้ถูกต้องตามกฎหมาย แพทย์แผนไทยถ้าพัฒนาดีๆ สามารถสร้างรายได้ หลายแสนล้านบาท ประหยัดงบประมาณของรัฐได้หลายหมื่นล้านบาท หลักสูตรการเรียนการสอนตอกเส้น ที่ตอบโจทย์สุขภาพ ของคนทั้งโลก หาย ประหยัด ปลอดภัย ใช้เวลาสั้น ต้นทุนต่ำ อาตมาหวังว่า ท่านรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุข จะได้เล็งเห็นความเดือนร้อนของประชาชน เพราะสุขภาพของประชาชนคือรากแก้วของแผ่นดิน เล็งเห็นความจริงใจ ความหวังดีที่อาตมามีให้กับแผ่นดิน และเปิดตลาดการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพนำพานักท่องเทียวทั่วโลกสู่แผ่นดินไทย ...

วันศุกร์ที่ 4 ธันวาคม พ.ศ. 2563

 วันที่ 4 ธันวาคม 2563 นายแพทย์เกียรติภูมิ วงศ์รจิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข เป็นประธานในพิธีเปิดโรงพยาบาลวัดสมานรัตนาราม( พุทธโสธร2 ) 


และร่วมพิธีทำบุญเนื่องในโอกาสเปิดให้บริการโรงพยาบาล ซึ่งอยู่ในพื้นที่วัดสมานนาราม ตำบลบางแก้ว อำเภอเมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา โดยนายไมตรี ไตรติลานันท์ ผู้ว่าราชการจังหวัดฉะเชิงเทรา กล่าวให้การต้อนรับ พร้อมด้วย พระประชาธรรมนาถ เจ้าอาวาสวัดสมานรัตนาราม ในนามประธานคณะกรรมการดำเนินการก่อสร้างโรงพยาบาลวัดสมานรัตนาราม ฝ่ายบรรพชิต นายพินิจ จารุสมบัติ ประธานสภาวัฒนธรรมไทยจีน และส่งเสริมความสัมพันธ์อดีตรองนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานคณะกรรมการดำเนินการก่อสร้างโรงพยาบาลวัดสมานรัตนาราม ฝ่ายฆราวาส นางจันทรัตน์ ไตรติลานันท์ นายกเหล่ากาชาดจังหวัดฉะเชิงเทรา นายแพทย์สาธาสุขจังหวัดฉะเชิงเทรา แพทย์หญิงสมบัติ ชุติมานุกูล ผู้อำนวยการโรงพยาบาลพุทธโสธร ข้าราชการ พ่อค้า และประชาชนชาวฉะเชิงเทราร่วมพิธีเปิดโรงพยาบาลจำนวนมาก 

























เอ.คนข่าวรายงาน

วันพุธที่ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2563

ถอยคนละก้าว! จนท.เขตป้อมปราบฯ ยังไม่รื้อตึกลุงกับป้า-รอศาลปกครองชี้  

ถอยคนละก้าว! จนท.เขตป้อมปราบฯ ยังไม่รื้อตึกลุงกับป้า-รอศาลปกครองชี้  


จากกรณีที่ลุงกับป้า ออกมาร้องขอความเป็นธรรม เนื่องจากเจ้าหน้าที่เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย ถือคำสั่งศาลชั้นต้นเข้ารื้อถอนอาคารส่วนที่ต่อเติมอย่างไม่เป็นธรรม ล่าสุด เจ้าหน้าที่นำกำลังเข้ามารื้อถอน แต่ทางลุงกับป้าให้เหตุผลว่า ขณะนี้อยู่ระหว่างรอคำพิจารณาจากศาลปกครอง เพื่อขอให้คุ้มครองชั่วคราว ก่อนที่ทั้งสองฝ่ายจะเข้าไปลงบันทึกประจำวันที่โรงพักในการขอเลื่อนการรื้อถอนอาคารออกไป ขณะที่ลุงกับป้า ร้องขอให้เจ้าหน้าที่ยึดคำพระราชดำรัสในหลวงรัชกาลที่9 "ความยุติธรรมมาก่อนกฎหมาย และอยู่เหนือกฎหมาย" 


คุณลุงสมชาย และคุณป้าเพชรรัตน์ อุตมะวณิชย์ ก้มกราบพระบรมฉายาลักษณ์ในหลวงรัชกาลที่9 และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ พระบรมราชชนนีพันปีหลวง เพื่อขอความเป็นธรรมในการไม่ให้เจ้าหน้าที่เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย เข้ามาทำการรื้ออาคาร หลังจากทั้งคู่ได้ไปยื่นคำร้องต่อศาลปกครอง ให้คุ้มครองชั่วคราว เมื่อวันที่ 24 พฤศจิกายนที่ผ่านมา 



โดยคุณลุงสมชาย กล่าวว่า ตนเองได้รับแจ้งจากทางสำนักงานเขตป้อมปราบศัตรูพ่าย ว่าวันนี้ (2ธ.ค.63) จะส่งเจ้าหน้าที่เข้ามารื้อถอนอาคารส่วนที่ต่อเติมในชั้น5 และชั้น6 ซึ่งอาคารดังกล่าวได้ก่อสร้างตั้งแต่ปี 2507 ก่อนที่ พ.ร.บ.ควบคุมอาคารจะออก และในส่วนที่เป็นข้อพิพาทนั้นได้สร้างขึ้นก่อนที่จะมีกฎหมายควบคุม อีกทั้งชาวบ้านบริเวณแถวนี้ก็อยู่อาศัยภายในอาคารลักษณะเดียวกัน แต่ทำไมถึงต้องมาสั่งให้ตนเองทุบชั้นที่ต่อเติมขึ้นมาแค่เพียงหลังเดียว แต่ว่าในเมื่อข้างบ้านก็มีการต่อเติมอาคารขึ้นมาเหมือนกันถึง 33 คูหา ถ้าจะให้ตนทุบ ก็ต้องให้บ้านข้างเคียงทุบด้วยจะได้เหมือนกัน เพราะการต่อเติมก็ทำเหมือนๆ กันทั้งหมด  



สำหรับประวัติความเป็นมาของอาคารที่มีข้อพิพาทตามหลักฐานทางราชการ และที่ไปที่มาของการพิพาทของอาคารหลังดังกล่าว ซึ่งมีจุดเริ่มต้นของการเกิดข้อพิพาทจนถึงกับขั้นเป็นคดีความร้องเรียนกันมาจนถึงทุกวันนี้ คือเริ่มตั้งแต่ ปี พ.ศ.2507 ซึ่งภายในปีนั้นเองได้มีการก่อสร้างอาคารทั้งหมดจำนวน 33 คูหา ซึ่งเป็นลักษณะเป็นตึกสูง 6 ชั้น แล้วได้เลขที่บ้าน ของอาคารแต่ละหลังพร้อมกันทั้งหมด ซึ่งตรงนี้ทางเจ้าของอาคารคนปัจจุบันมีหลักฐานเป็นผังจัดสรร แล้วถัดมาในปี พ.ศ.2562 ได้มีใบแจ้งประเมินภาษีทรัพย์สินจากทางสำนักงานเขตป้อมปราบฯ แล้วยังระบุไว้อย่างชัดเจนว่าเป็นอาคารสูง 6 ชั้น ซึ่งปลูกสร้างมา 43 ปีแล้ว และ ทั้งนี้ยังมีหลักฐานภาพถ่ายทางอากาศ ของปี พ.ศ.2517 ยืนยันว่า อาคารทั้งหมด 33 คูหา เป็นอาคารสูง 6 ชั้น เหมือนกันทั้งหมด พออยู่มาถึงปี พ.ศ. 2535 ทางเจ้าของเดิมมีการซ่อมลิฟท์ ที่ติดตั้งเอาไว้ภายในอาคาร ลิฟท์ที่ติดไว้มีความสูง 5 ชั้น มาถึงปี พ.ศ.2538-2541 เจ้าของเดิมได้ซื้ออาคารที่มีข้อพิพาทต่อมาจากบริษัทแห่งหนึ่ง แล้วถึงจะมีข้อพิพาท พอไม่นานก็ถูกร้องเรียน พอสักระยะเวลาประมาณนึงทางสำนักงานเขตก็ออกคำสั่งให้เจ้าของเดิม รื้อถอนอาคารของเจ้าของเดิม และคู่พิพาท แต่เจ้าของเดิมไม่ดำเนินการภายในระยะเวลาตามที่กฎหมาย จึงเป็นเหตุให้ถูกคำสั่งรื้ออาคารดังกล่าว ส่วนคู่พิพาทใช้สิทธิ์ภายในระยะเวลาตามกฎหมายเลยรอด พอมาถึงปี พ.ศ.2542-2547 ก็มีการฟ้องร้องกันในคดีแพ่งที่ศาลแพ่งกรุงเทพใต้ ในขณะนั้นทางศาลก็มีการเดินเผชิญสืบอาคารพิพาทเกิดขึ้น แล้วสืบเนื่องมาจนภายในปี พ.ศ.2547-2549 คุณลุง สมชาย และ คุณป้าเพชรรัตน์ ก็ได้ตกลงซื้ออาคารต่อจากเจ้าของเดิม โดยไม่ทราบถึงเรื่องที่มีการฟ้องร้อง หรือร้องเรียน กันอยู่ พอต่อมาไม่นานก็มีคนนำคดีไปฟ้องให้กับเจ้าหน้าที่เร่งรัดปฏิบัติตามคำสั่งให้รื้อถอน และ ทางสำนักงานเขตฯ ก็ออกคำสั่งให้กับคุณลุงสมชาย และ คุณป้าเพชรรัตน์ รื้อถอนอาคารในชั้นที่ 5 และ 6 ออกทันที ซึ่งทางคุณลุง คุณป้า จึงใช้สิทธิยื่นอุทธรณ์ และฟ้องคดีต่อศาลปกครองโต้แย้งคำสั่งจากทางปกครองว่าไม่ชอบด้วยกฎหมาย ซึ่งไม่มีผลใช้บังคับ และผลของคำสั่งทางปกครองที่บังคับกับคุณลุงคุณป้ายังไม่ถึงที่สุด ต่อมาเมื่อวันที่ 12 ตุลาคม 2563 คุณลุง คุณป้า จึงทำหนังสือร้องเรียน กรณีเจ้าหน้าที่ท้องถิ่นใช้อำนาจในตำแหน่งเป็นการเลือกปฏิบัติโดยไม่เป็นธรรม 




ทั้งนี้ ทางเจ้าหน้าที่เขตยังไม่ได้เข้ารื้อถอนอาคารดังกล่าว เนื่องจากทางคุณลุงสมชาย และป้าเพชรรัตน์ ได้ยื่นหนังคำร้องที่ยื่นต่อศาลปกครองมายืนยัน เพื่อไม่ให้เจ้าหน้าที่รื้อถอน ก่อนที่ทั้งสองฝ่ายจะเดินทางไปลงบันทึกประจำวันที่สถานีตำรวจนครบาลพลับพลาไชย1 ต่อไป