วันเสาร์ที่ 26 มิถุนายน พ.ศ. 2564

ดร โกสินทร์ สุทธิรัตน์ เข้าดำเนินการพ่นนํ้ายากำจัดเชื้อโรค ชุมชนหลังวัดทองธรรมขาติ 


วันที่ 26 มิ.ย. 64 วันนี้เป็นวันหยุดสำหรับบางคน แต่ไม่ใช่วันหยุดของเขื้อโควิดแน่นอนครับ 




วันนี้ผม(ดร โกสินทร์ สุทธิรัตน์) พร้อมทีมงานได้รับการประสานงาน จากท่านประธานชุมชนหลังวัดทองธรรมขาติ(คุณเปิ้ล) ให้เข้าดำเนินการพ่นนํ้ายากำจัดเชื้อโรคที่ชุมชนและบริเวณใกล้เคียง ผมได้ดำเนินการแล้วครับ. 





 ด้วยรักและห่วงใยทุกท่านจากใจ ดร โกสินทร์ สุทธิรัตน์ พรรคเพื่อไทย เขตคลองสาน หัวใจคือประชาขน ประชาชนคอยวัคซีนอยู่จ้า.

วันศุกร์ที่ 25 มิถุนายน พ.ศ. 2564

คุณแม่ตั้งครรภ์ 6 เดือนพร้อมลูกสาววัย 1 ขวบติดเชื้อโควิด 


เมื่อเวลา 15.00 น.ของวันที่ 25 มิถุนายน 2564 รับแจ้งจากศูนย์วิทยุบางกอก(มูลนิธิเพชรเกษมกรุงเทพฯ) จัดรถปฏิบัติการฉุกเฉินพิเศษตอบโต้โควิด 19 ออกรับผู้ป่วยติดเชื้อโควิดภายในซอยสังคมสงเคราะห์ 20 ลาดพร้าว กรุงเทพมหานคร 



เมื่อเจ้าหน้าที่เดินทางไปถึงพบผู้ป่วยเป็นเด็กหญิงวัย 1ขวบพร้อมกับคุณแม่ซึ่งตั้งครรภ์ 6 เดือนเจ้าหน้าที่จึงได้นำตัวเด็กหญิงพร้อมคุณป้าของน้องนำส่งไปรักษายังสถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินีส่วนคุณแม่ตั้งครรภ์ 6 เดือนอยู่ระหว่างรอเจ้าหน้าที่มารับตัวไปรักษา 



จากการสอบถามข้อมูลจากคุณวงเดือนซึ่งเป็นป้าของเด็กหญิงวัย 1 ขวบได้ให้ข้อมูลว่าน้องและแม่ได้ติดเชื้อมาจากคุณพ่อซึ่งถูกนำตัวส่งไปรักษาเมื่อวันที่ 22 ที่ผ่านมาหลังจากทราบว่าตัวคุณพ่อติดเชื้อในวันที่ 23 มิถุนายนคุณแม่ได้พาน้องเดินทางไปตรวจหาเชื้อผลปรากฏว่าคุณแม่ตั้งครรภ์ 6 เดือนพร้อมกับลูกสาววัย 1 ขวบทั้งคู่ติดเชื้อโควิคจึงได้ประสานงานหน่วยงานที่เกี่ยวข้องมารับตัวไปรักษา ภาพข่าว:มูลนิธิเพชรเกษมกรุงเทพฯ

ดร.โกสินทร์ สุทธิรัตน์ ลงพื้นที่แจกหน้ากากอนามัย เพื่อให้พี่น้องประชาชนสงสัยป้องกัน ไวรัสโควิด-19 


 เช้านี้ วันที่ 25 มิ.ย. 64 ถนนตากสินผม(ดร.โกสินทร์ สุทธิรัตน์) มารณรงค์ให้พี่น้องประชาชน ได้มีหน้ากากอนามัยทุกคน ทุกบ้านเพื่อความปลอดภัยจากไวรัสโควิด-19 ที่ระบาดหนักอยู่ขณะนี้ 



พวกเรามาข่วยเหลือและดูแลปกป้อง ตัวของเราเองกันเถอะ วัคซีนก็คอยอยู่นะครับ. ด้วยรักและก่วงใยจากใจ ดร.โกสินทร์ สุทธิรัตน์ พรรคเพื่อไทยหัวใจคือประชาชน เขตคลองสาน กรุงเทพมหานคร พวกเราคอยวัคซีนอยู่ ..





วันพุธที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2564

นักศึกษาม.ราม บุกกรมป่าไม้ แสดงออกเชิงสัญลักษณ์ต้าน จนท.ป่าไม้อีสาน รีดไถเงินแลกใบอนุญาตค้าไม้ 


 เมื่อเวลา 11.00 น.(วันที่ 23 มิ.ย. 64) ตัวแทนนักศึกษามหาวิทยาลัยรามคำแหง จำนวนกว่า 30 คน นำโดยนายเอกขรินทร์ บุญทอง และนายดนัย มีกรูด แกนนำกลุ่ม นัดรวมพลหน้า กรมป่าไม้ ถนนพหลโยธิน เพื่อแสดงออกเชิงสัญลักษณ์ต่อต้านการทุจริตและประพฤติมิชอบของเจ้าหน้าที่กรมป่าไม้ หลังมีการเรียกเก็บค่าใบต่ออนุญาตค้าไม้กับโรงไม้และโรงเลื่อยในพื้นที่จังหวัดอุดรธานีและหนองคายอย่างไม่เป็นธรรม 


นายเอกขรินทร์ บุญทอง แกนนำกลุ่มนักศึกษาคณะนิติศาสตร์ กล่าวว่า การรวมตัวกันของนักศึกษาในครั้งนี้ เกิดจากการได้รับข้อมูลร้องเรียนจากผู้ประกอบการโรงไม้ โรงเลื่อยในพื้นที่จังหวัดอุดรธานีและหนองคาย ว่ามีเจ้าหน้าที่จากสำนักจัดการทรัพยากรป่าไม้ที่ 6 (อุดรธานี) และศูนย์ป่าไม้หนองคาย ปฏิบัติหน้าที่ไม่เป็นธรรมและเอารัดเอาเปรียบผู้ประกอบการ เช่น ไม่ยอมต่ออายุใบอนุญาตตั้งโรงงานไม้แปรรูปและโรงค้าไม้แปรรูปฯ ปล่อยให้เกิดช่องว่างในการรีดไถกับผู้ประกอบการ และในการต่อใบอนุญาตแต่ละครั้งจะเรียกเก็บค่าดำเนินการเกินกว่าที่กฎหมายกำหนด หากผู้ประกอบการรายใดไม่ทำตามเจ้าหน้าที่รัฐก็จะมีการยึดไม้ของกลาง เป็นต้น ส่งผลให้ผู้ประกอบการโรงไม้ โรงเลื่อยไม้ทั้งรายเล็กและรายใหญ่กว่า 20 ราย ได้รับความเดือดร้อนอย่างหนัก โดยเฉพาะช่วงนี้สถานการณ์ไวรัสโควิด-19 ระบาดหนัก ผู้ประกอบการไม่สามารถดำเนินธุรกิจค้าไม้ได้เนื่องจากไม่มีใบอนุญาต ส่งผลกระทบทั้งต่อตัวผู้ประกอบการเองและลูกจ้างอีกจำนวนมาก จึงอยากเรียกร้องให้นายอดิศร นุชดำรงค์ อธิบดีกรมป่าไม้ เร่งตรวจสอบเรื่องนี้โดยด่วนและหาผู้กระทำความผิดมาดำเนินคดีทางกฎหมายต่อไป 


อย่างไรก็ตาม ก่อนหน้านี้ทางคณะนักศึกษาได้เดินทางไปยื่นหนังสือร้องเรียนเรื่องดังกล่าวแล้วที่สภานิติบัญญัติ ตั้งแต่วันที่ 16 มิถุนายนที่ผ่านมา โดยมีเลขานุการประธานสภาผู้แทนราษฎร เป็นผู้รับหนังสือ โดยเบื้องต้นทราบว่ามีการตรวจสอบข้อมูลดังกล่าวและสั่งย้ายเจ้าหน้าที่ที่เกี่ยวข้องออกจากพื้นที่แล้ว 




“เราอยากเป็นกระบอกเสียงให้กับชาวบ้านและผู้ประกอบการที่ไม่ได้รับความเป็นธรรมจากการทำงานของเจ้าหน้าที่รัฐ จึงออกมาเรียกร้องและแสดงออกเชิงสัญลักษณ์ เพราะขณะนี้ผู้ประกอบการในพื้นที่หนองคายและอุดรธานีเดือดร้อนกันมาก จะขายไม้ก็ไม่ได้เพราะผิดกฎหมายเนื่องจากไม่มีใบอนุญาต จะไปทำอาชีพอื่นก็ลำบากในสถานการณ์เช่นนี้ ที่สำคัญอยากให้มีการพิจารณาแก้ไขข้อกฎหมายช่วยเหลือผู้ประกอบการที่ได้รับผลกระทบด้วย”นายเอกขรินทร์ กล่าว ผู้สื่อข่าวรายงานว่าจริงๆนักศึกษากลุ่มนี้ต้องการยื่นหนังสือถึงอธิบดีกรมป่าไม้ เมื่อได้รับแจ้งว่าอธิบดีกรมป่าไม้ได้ออกไปจากกรมป่าไม้ ก่อนนักศึกษาเดินทางไปถึงเพียงเล็กน้อย และไม่รู้ว่าออกไปไหน นักศึกษาจึงแค่วางพวงหรีดอาลัยกับกรมป่าไม้ในยุคนี้

วันอังคารที่ 22 มิถุนายน พ.ศ. 2564

แจ้งความผู้แอบอ้างตัวแทนกก.พงสะหวัน ยันไม่เคยมอบอำนาจไม้พะยูง 200 ล.  


ตัวแทน 'สอนแก้ว สิดทิไช' กก.บ.พงสะหวัน เปิดแถลงข่าว ย้ำครองกรรมสิทธิ์ ไม้พะยูง 200 ล้าน เจ้าเดียว ยันไม่เคยมอบอำนาจให้ใคร แจ้งความเอาผิด 'คําสะไหว พมมะจัน'นักธุรกิจลาวข้อหาปลอมแปลงเอกสารรับมอบอำนาจแล้ว - เชิญ 'สมสัก แก้วผาลี' หนึ่งในผู้อ้างสิทธิ์ออกนอกห้องประชุมแอบอ้างตัวแทน สปป.ลาว 


 ความคืบหน้าล่าสุด ว่า เมื่อวันที่ 22 มิ.ย. 2564 คณะทำงานของ นางสาวิตรี นันทวิวัฒน์ ผู้รับมอบอำนาจจากนายสอนแก้ว สิดทิไชหนึ่งในผู้อ้างสิทธิในไม้พะยูง ได้จัดงานแถลงข่าวที่โรงแรมมิราเคิล แกรนด์ เพื่อจะชี้แจงข้อมูลที่มาที่ไปเรื่องนี้เป็นทางการ    คำแถลงมีผู้แอบอ้างรับไม้พะยูงคืนจาก ปทส. บริษัท พงสะหวัน อุตสาหกรรมป่าไม้ จำกัด (Phogsavahn Wood Industry) หรือ โรงเลื่อยพงสะหวัน  ตั้งอยู่ถนนเลขที่ 9 บ้านหัวเมืองเหนือ นครกรสรพรหมวิหาร ขังหวัดสะหวีนนะเขต สาธารณประชาธิปไตยประชาชนลาว ปัจจุบันมีนายคำผาย จันทร์สีสมุด เป็นประธานกลุ่มบริษัท พงสะหวัน จำกัด และมีนายอ๊อด พงสะหวัน ประธานกิตติมศักดิ์ ในเครือบริษัท พงสะหวัน จำกัด และในสมัยที่นายอ๊อด พงสะหวัน ดำรงตำแหน่งผู้อำนวยการกลุ่มบริษัท พงสะหวัน จำกัด ได้แต่งตั้งมอบอำนาจให้นายสอนแก้ว สิดทิไช เป็นกรรมการผู้มีอำนาจ มีสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมาย มีอำนาจลงลายมิชื่อแทน และประทับตราบริษัทแต่เพียงผู้เดียว ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2558 จนถึงปัจจุบัน ตลอดจนมีอำนาจกระทำการในกรณีไม้พะยูงจำนวน 11 ตู้คอนเทนเนอร์ ของบริษัทฯ และต่อมานายสอนแก้ว สิดทิไช กรรมการผู้มีอำนาจได้แต่งตั้งมอบอำนาจให้นางสาวสาวิตรี นันท์ภิวัฒน์ เป็นผู้มีอำนาจ มีสิทธิและหน้าที่ตามกฎหมาย ในการกระทำแทนบริษัทฯ ภายในขอบเขตอำนาจ 


จากกรณีที่อัยการสูงสุดมีคำสั่งให้คืนไม้พะยูง 11 ตู้คอนเทนเนอร์ มีไม้ทั้งหมดจำนวน 1,664 ท่อน มูลค่าประมาณ 160 ล้านบาท ให้แก่บริษัท พงสะหวัน อุตสาหกรรมป่าไม้ จำกัด เจ้าของ ตามประมวลกฎหมายอาญา มาตรา 85 ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2553 แต่เนื่องจากยังมีคดีความที่เกี่ยวพันถึงเรื่องการปลอมแปลงเอกสารของบริษัทชิ้ปปิ้งอยู่ ทางหน่วยราชการจึงยังไม่สามารถคืนไม้พะยูงทั้งหมดให้แก่บริษัทฯ ได้ จนในปี พ.ศ. 2563 ศาลฎีกามีคำวินิจฉัยยกฟ้องผู้ต้องหา คดีความทุกอย่างจึงถือเป็นอันสิ้นสุด ซึ่งต่อมากองบังคับการปราบปรามการกระทำความผิดเกี่ยวกับทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม หรือ ปทส. ได้มีคำสั่งคืนไม้พะยูงทั้งหมดให้แก่บริษัท พงสะหวัน อุตสาหกรรมป่าไม้ จำกัด แต่มีนาย ค.ส.ว. (นามสมมติ) เข้าแสดงตัวแอบอ้างว่าเป็นผู้รับมอบอำนาจจากบริษัท พงสะหวัน อุตสาหกรรมป่าไม้ จำกัด ในการรับคืนไม้พะยูง ซึ่งการมอบอำนาจดังกล่าวไม่เป็นความจริง วันนี้ (22 มิถุนายน 2564) นางสาวสาวิตรี นันท์ภิวัฒน์ ซึ่งได้เป็นผู้รับมอบอำนาจจากบริษัท พงสะหวัน อุตสาหกรรมป่าไม้ จำกัด จึงได้มีจัดแถลงข่าว “มหากาพย์ไม้ 11 ตู้คอนเทนเนอร์กับระยะเวลา 15 ปี” โดยมีนายสอนแก้ว สิดทิไช กรรมการผู้มีอำนาจ วีดีโอ คอล ร่วมแถลงข่าวด้วย ณ โรงแรม มิราเคิล แกรนด์ คอนเวนชั่น ทุ่งสองห้อง หลักสี่ กรุงเทพฯ โดย นางสาวสาวิตรี นันท์ภิวัฒน์ ซึ่งได้เป็นผู้รับมอบอำนาจจากบริษัท พงสะหวัน อุตสาหกรรมป่าไม้ จำกัด กล่าวว่า จากการที่บริษัทฯ ได้เห็นข้อมูลจากสำนักข่าวต่างๆ ของประเทศไทย เมื่อวันที่ 25 มีนาคม 2564 ที่ผ่านมา ว่านาย ค.ส.ว. (นามสมมติ) ไปแอบอ้างว่าเป็นตัวแทนของกลุ่มบริษัท พงสะหวัน จำกัด ไปเคลื่อนไหวในราชอาณาจักรโดยที่ไม่ถูกต้อง ซึ่งอาจส่งผลเสียหายต่อทางบริษัทฯ 



 ทางบริษัทฯ จึงขอชี้แจงว่า ทางกลุ่มบริษัท พงสะหวัน จำกัด ยืนยันว่า 1.“ไม่เคยมอบสิทธิ์หรือแต่งตั้ง นาย ค.ส.ว. (นามสมมติ) ไปเคลื่อนไหวทำงานใด หรือให้ดำเนินการหรือทำเรื่องรับไม้พะยูงคืนแต่อย่างใดแทนกลุ่มบริษัท พงสะหวัน จำกัด 2. ทางกลุ่มบริษัท พงสะหวัน จำกัด ขอปฎิเสธไม่รับรู้ ไม่รู้เห็น  และไม่ยินยอมต่อการเคลื่อนไหวผ่านมาทั้งหมดของนาย ค.ส.ว. (นามสมมติ) ในราชอาณาจักรไทย 3.การกระทำของนาย ค.ส.ว. (นามสมมติ) ทางกลุ่มบริษัท พงสะหวัน จำกัด มีความเป็นห่วงและไม่สบายใจป็นอย่างยิ่ง เนื่องจากการกระทำอาจทำให้เกิดความเสียหายต่อบุคคลหรือนิติบุคคลอื่นๆ ที่อาจหลงเชื่อว่าเป็นผู้แทนของกลุ่มบริษัท พงสะหวัน จำกัด

วันเสาร์ที่ 19 มิถุนายน พ.ศ. 2564

ด่วน! ชาวบ้านวัดจันทร์ใน กทม. รวมตัวประมาณ 100 คน คัดค้านคำสั่ง เจ้าคณะกรุงเทพมหานคร แต่งตั้งเจ้าอาวาสวัดจันทร์ในรูปใหม่ ชี้คุณสมบัติไม่เหมาะสมมาปกครองวัดจันทร์ใน และขอให้ตรวจสอบพระสองรูปที่ทุจริต เงินงานศพกว่าล้านบาท 


 วันนี้ (19 มิ.ย.64) เวลา 13.00 น. ที่วัดหัวลำโพง มีกลุ่มชาวบ้านประมาณ 100 คนรวมตัวกันประท้วงอยู่ภายในวัดหัวลำโพง กทม. เพื่อคัดค้านกรณีที่ พระธรรมสุธี (นรินทร์ นรินฺโท) เจ้าคณะกรุงเทพมหานคร เจ้าอาวาสวัดหัวลำโพง จะมีคำสั่งแต่งตั้ง พระมหาวีรวงศ์ วีรว์โส  เป็นเจ้าอาวาสวัดจันทร์ใน 


 เมื่อผู้สื่อข่าวไปถึง ปรากฏว่ากลุ่มชาวบ้านประมาณ 100 คนได้รวมตัวกันเดินทางไปยื่นหนังสือกับ พระธรรมสุธี (นรินทร์ นรินฺโท) เจ้าคณะกรุงเทพมหานคร เจ้าอาวาสวัดหัวลำโพง   จึงได้ติดตามไปตรวจสอบ พบว่า พระธรรมสุธี (นรินทร์ นรินฺโท) เจ้าคณะกรุงเทพมหานคร เจ้าอาวาสวัดหัวลำโพง กำลังประชุมกับคณะสงฆ์อยู่ ก่อนที่จะอนุญาตให้ตัวแทนชาวบ้านเข้าไปพบและยื่นหนังสือกับ พระธรรมสุธี (นรินทร์ นรินฺโท) เจ้าคณะกรุงเทพมหานคร   



จนกระทั่งหลังตัวแทน"ชาวบ้านวัดจันทร์ใน" แขวงบางโคล่ เขตบางคอแหลม กทม.  เข้าพบแล้วยื่นหนังสือต่อ พระธรรมสุธี (นรินทร์ นรินฺโท) เจ้าคณะกรุงเทพมหานคร แล้วก็กลับออกมาเพื่อจะเดินทางไปยื่นหนังสือกับทาง  พระครูศรีวรานุกิจ เจ้าอาวาสวัดราชสิงขร  เจ้าคณะ​เขตบางคอแหลม และเจ้าคณะเขต ต่อไป ทั้งนี้ชาวบ้านวัดจันทร์ในยังได้เข้ายื่นหนังสือต่อพระครูสมุห์​วิจิตร อมโร รักษาการเจ้าอาวาสวัดจันทร์​ใน​ เพื่อเรียกร้องให้ทำการตรวจสอบกรณีที่พระในวัด 2 รูปอาจมีส่วนเกี่ยวข้องกับการทุจริตเกี่ยวกับเงินฌาปนกิจ(งานศพ)​ และยังไม่ได้นำเงินมาคืนหรือรับการลงโทษใดๆจากทางคณะสงฆ์​ ซึ่งอาจมีความเชื่อมโยงกับการแต่งตั้งพระมหาวีร​วงศ์​เป็นเจ้าอาวาสวัดในครั้งนี้ 



 ภายหลังจากที่  พระธรรมสุธี (นรินทร์ นรินฺโท) เจ้าคณะกรุงเทพมหานคร เจ้าอาวาสวัดหัวลำโพง ได้รับหนังสือคัดค้านจาก "ชาวบ้านวัด​จันทร์ใน" พระธรรมสุธี เจ้าคณะกรุงเทพมหานคร ก็ได้บอกกล่าวกับทาง "ชาวบ้านวัดจันทร์ใน" ที่ได้มายื่นหนังสือคัดค้าน ถึงขั้นตอนในการพิจารณาแต่งตั้งว่าในขณะนี้ยังไม่มีการแต่งตั้งแต่อย่างใด และอยู่ในช่วงระหว่างชุมนุมสงฆ์เพื่อพิจารณาจากคณะมหาเถระสมาคม และคณะสงฆ์ตามลำดับ ถึงคุณสมบัติและความเหมาะสม ของพระมหาวีรวงศ์ วีรว์โส ที่จะเข้ามาดำรงค์ตำแหน่งและปฏิบัติหน้าที่ของ เจ้าอาวาสวัดจันทร์ใน ทั้งนี้ในการรับหนังสือในวันนี้ทาง พระธรรมสุธี (นรินทร์ นรินฺโท) เจ้าคณะกรุงเทพมหานคร เจ้าอาวาสวัดหัวลำโพง จะได้นำเอกสารและหลักฐานต่างๆไปตรวจสอบข้อเท็จจริงเพื่อเป็นข้อมูลในการหารือต่อคณะกรรมการเถระสมาคมพิจารณาถึงการแต่งตั้งพระรูปหนึ่งรูปใดที่มีความรู้ความสามารถเหมาะสมและไม่มีผลประโยชน์เข้ามาเกี่ยวข้องเป็นเจ้าอาวาสวัดจันทร์ใน ต่อไป




สน.ในพื้นที่ตรวจสอบด้วย เหตุผลอันใดถึงสามารถเปิดให้นั่งมีเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ได้ในสถานการณ์เช่นนี้ 


 ตามที่ ประกาศของสบค. ในพื้นที่สีแดงเข้มงดจำหน่ายสุราและเครื่องดื่มแอลกอฮอล์แต่ในพื้นที่ สน. ลำลูกกายังมีสถานบริการเปิดให้ขายเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และสุดท้ายยังฝ่าฝืนพระราชกำหนดของกระทรวงสาธารณสุข แต่สุดท้ายก็ยังสามารถเปิดและจำหน่ายรวมทั้งฝ่าฝืนคำสั่งของทางรัฐบาลหน่วยงานที่เกี่ยวข้องลงตรวจสอบโดยด่วน







วันพุธที่ 16 มิถุนายน พ.ศ. 2564

อย่าเลือกปฏิบัติ! 2ลุงป้า ร้องขอให้ถอนทุบตึก ชี้ถูกทนายดังกลั่นแกล้ง  


จากกรณีที่ 2 ลุงป้า เจ้าของตึกย่านสวนมะลิ เคยออกมาร้องขอความเป็นธรรม เพื่อไม่ให้ทางเขตป้อมปราบศัตรูพ่าย รื้อถอนสิ่งปลูกสร้างในชั้นที่5 และ6 จำนวน 4 คูหา ซึ่งทางเขตได้ถือหมายศาลเตรียมเข้ามารื้อถอน ตามที่เสนอข่าวไปก่อนหน้านี้ ล่าสุด 2 ลุงป้า ได้ยื่นหนังสือขอให้ทางเขตพิจารณาคำสั่งรื้อถอนใหม่ ลั่น ถ้าจะรื้อก็ให้รื้อทั้ง 33 คูหา อย่าเลือกปฏิบัติสั่งรื้อแค่ตึกของตนเองเท่านั้น 


คุณลุงสมชาย และคุณป้าเพ็ชรรัตน์ อุตมะวณิชย์ เจ้าของตึกย่านสวนมะลิ พร้อมทั้งทนายอนันต์ชัย ไชยเดช ได้ยื่นหนังสือร้องของความเป็นธรรมกับนายยุทธนา ป่าไม้ ผู้อำนวยการเขตป้อมปราบศัตรูพ่าย ให้พิจารณาคำสั่งรื้อถอนอาคาร จำนวน 4 คูหาใหม่ จากกรณีที่ถูกเจ้าของอาคารใกล้เคียงใช้ช่องว่างของกฎหมายกลั่นแกล้ง จนทำให้เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย ใช้คำสั่งศาลปกครองรื้อถอนอาคารในชั้นที่ 5 และ 6 ของทั้งคู่ หลังถูกทางเขตฯ ถือหมายศาลเข้ามาเตรียมรื้อถอนอาคาร เมื่อวันที่ 10 มิถุนายน ที่ผ่านมา ซึ่งทั้งทั้งคู่มองว่าไม่ได้รับความเป็นธรรม เนื่องจากอาคารของตนเอง ได้สร้างมาพร้อมกับอาคารหลังอื่นในย่านนั้นรวม 33 คูหา แต่ทางเขตฯ กลับจะมารื้อถอนเฉพาะอาคารของตนเองเท่านั้น จึงทำให้ในวันนี้ต้องมายื่นหนังสือดังกล่าว 


โดยคุณลุงสมชาย และคุณป้าเพ็ชรรัตน์ อุตมะวณิชย์ เจ้าของตึก เล่าว่า อาคารนี้ถูกสร้างขึ้นตั้งแต่ปี 2507 โดยยื่นแบบก่อสร้างเป็นอาคารพาณิชย์สูง 4 ชั้น และได้มีการต่อเติมอาคารในชั้นที่ 5 และ 6 จำนวน 33 คูหา ก่อนที่ตนเองจะซื้ออาคารนี้มาจากเจ้าของเดิม เมื่อปี 2548 แล้ว โดยไม่รู้ว่าอาคารหลังนี้มีข้อพิพาทกับเจ้าของอาคารข้างเคียงเมื่อปี 2541 ต่อมา เจ้าของอาคารคนเดิมได้เสียชีวิตลง ทำให้คู่พิพาทได้ยื่นฟ้องตนเอง โดยอาศัยช่องว่างของกฎหมายบีบให้ทางเขตฯ ใช้อำนาจทางการปกครองถือหมายศาลเข้ามารื้อถอนอาคารแห่งนี้ของตนเองเพียง 4 คูหา ส่วนที่เหลือ 29 คูหา กลับไม่ถูกรื้อถอน 


 ด้านทนายอนันต์ชัย ไชยเดช กล่าวว่า อาคารหลังนี้สร้างมาในคราวเดียวกันจำนวน 33 คูหา หากมีคำสั่งรื้อถอนก็ควรปฏิบัติเหมือนกันทั้งหมด อย่าเลือกปฏิบัติ หรือเอาใจฝ่ายใดฝ่ายหนึ่ง โดยอาคารทั้งหมดปลูกสร้างเสร็จก่อนประกาศใช้ พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ. 2522 จึงต้องบังคับตาม พ.ร.บ.ควบคุมการก่อสร้างอาคาร พ.ศ. 2479 ซึ่งเป็นกฎหมายที่ใช้บังคับอยู่ในขณะนั้น ซึ่งตาม พ.ร.บ.ควบคุมอาคาร พ.ศ.2522 ได้ระบุชัดเจนว่า กรณีที่มีการต่อเติมอาคารผิดแบบ ก่อนที่จะมีการบังคับใช้กฎหมายตาม พ.ร.บ. ดังกล่าวนั้น ทางเขตฯ หรือเจ้าพนักงานปกครองท้องถิ่นจะต้องทำหนังสือให้แก้ไขอาคารที่มีการต่อเติม เพื่อไม่ให้กระทบกับอาคารข้างเคียง ซึ่งในคดีนี้มีคำสั่งศาลฎีกา ให้มีการแก้ไขเกี่ยวกับลักษณะอาคาร ส่วนที่มีการต่อเติมดัดแปลงโดยไม่ต้องทุบ รื้อถอน อธิบายง่ายๆ คือแก้ไขในเอกสาร แต่ฝ่ายผู้ร้องไม่ยอม ยื่นฟ้องต่อศาลปกครอง จนกระทั่งศาลปกครองมีคำสั่งให้รื้อถอน และปฏิบัติตามคำสั่งของสำนักงานเขตป้อมปราบศัตรูพ่าย แต่จากการตรวจสอบคำสั่งรื้อถอนของสำนักงานเขตป้อมปราบศัตรูพ่าย ศาลฎีการะบุว่าเป็นการออกคำสั่งข้ามขั้นตอน จึงทำให้คำสั่งดังกล่าวนั้นออกโดยมิชอบ 


ทั้งนี้ จึงพาผู้เสียหายเข้ามายื่นหนังสือดังกล่าว และให้คำแนะนำเกี่ยวกับข้อกฎหมายที่สามารถปฏิบัติได้ กรณีถ้าคำสั่งของ 2 ศาลไม่ตรงกันแบบในกรณีนี้ ให้ยึดตามคําสั่งของศาลฎีกา เนื่องจากมีการลงพื้นที่เดินเผชิญสืบครบถ้วนทุกมิติแล้ว ประกอบกับคำสั่งของศาลปกครองสูงสุด ที่สั่งให้ปฏิบัติตามคำสั่ง ของสำนักงานเขตป้อมปราบศัตรูพ่าย แต่เนื่องจากคำสั่งดังกล่าวนั้นออกมาโดยไม่ชอบ จึงไม่มีความจำเป็นต้องปฏิบัติตาม และการรื้อถอนอาคารที่มีโครงสร้างลักษณะนี้ จะทำให้เกิดความเสียหายมากกว่าการแก้ไข้ในเอกสาร อย่างไรก็ตาม หลังจากยื่นหนังสือให้ทางเขตฯ แล้ว ก็จะเดินทางไปยื่นหนังสือขอความเป็นธรรมในกรณีนี้กับทางผู้ว่าราชการกรุงเทพมหานครอีกด้วย

วันศุกร์ที่ 11 มิถุนายน พ.ศ. 2564

จันทบุรี.วุฒิสภาจัดกิจกรรมมอบเครื่องมือทางการแพทย์และถุงยังชีพพร้อมเครื่องอุปโภคบริโภคร่วมใจต้านโควิด 19


วันที่ 11 มิถุนายน 2556 4 ที่ศาลากลางจังหวัด อ.เมือง จ.จันทบุรี วุฒิสภาโดยคณะการดำเนินการจัดกิจกรรมอันเป็นสาธารณะประโยชน์เพื่อสังคมและกิจกรรมนันทนาการของวุฒิสภาร่วมกับโครงการวุฒิสภาพบปะประชาชนพร้อมคณะ นำโดย นายสุธี ทองแย้ม ผู้ว่าราชการจังหวัดจันทบุรีพร้อมผู้แทนจากหน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้องกับการป้องกันการแพร่ระบาดของ โรคโควิด 19 ให้การต้อนรับ



สืบเนื่องจากสถานการณ์การแพร่ระบาดของโรคไวรัสโคโรน่า 2019(โควิด 19) ในขณะนี้ยังมีผู้ติดเชื้ออย่างต่อเนื่องทำให้ทางแพทย์พยาบาลยังคงต้องทำงานกันอย่างหนักเพื่อเป็นการป้องกันการแพร่ระบาดและให้กำลังใจแก่บุคลากรทางการแพทย์ทางวุฒิสภาจึงได้จัดกิจกรรมนี้ขึ้นโดยการมอบอุปกรณ์ทางการแพทย์ประกอบด้วย ชุด PPE หน้ากาก N95 หน้ากากอนามัยและเจลแอลกอฮอล์ให้แก่บุคลากรทางการแพทย์เพื่อสนับสนุนในการปฏิบัติงานด้านสาธารณสุข ในการป้องกันการแพร่ระบาดของโรคไวรัสโคโรนา 2019(covid-)




โดยมีทางนายแพทย์ อภิรักษ์ พิศุทธ์อาภรณ์ นายแพทย์สาธารณสุขจังหวัดจันทบุรีเป็นผู้รับมอบ พร้อมข้าวกล่อง ให้แก่กลุ่มเปราะบางและผู้ที่ได้รับผลกระทบจากการระบาดของโรคไวรัส โควิด 19 อีกด้วยเพื่อเป็นการช่วยบรรเทาความเดือดร้อนเบื้องต้นโดยมีผู้แทนจากหน่วยงานจากตำรวจ อสม.สมาคมอัญมณีและผู้ประกอบการ เป็นผู้รับมอบ เราจะร่วมก้าวผ่านวิกฤตโควิด 19 ไปด้วยกัน

 เอคนข่าวรายงาน